บอกเล่าเรื่องราวงาน “สืบสารท สานศิลป์ ถิ่นโนรา ผ่านทางสายตาผู้ชม”

หน้าแรก ย้อนกลับ บอกเล่าเรื่องราวงาน “สืบสารท สานศิลป์ ถิ่นโนรา ผ่านทางสายตาผู้ชม”

บอกเล่าเรื่องราวงาน  “สืบสารท สานศิลป์ ถิ่นโนรา ผ่านทางสายตาผู้ชม”

 

 

 บอกเล่าเรื่องราวงาน 

“สืบสารท สานศิลป์ ถิ่นโนรา ผ่านทางสายตาผู้ชม” 

 

จิรัชยา หวาเอียด
 สุรัติ ธีธัชตระกูล
 
 

        ถ้าพูดถึงตำนานนับร้อยนับพันปีในอดีต ประเพณีของคนไทยทางภาคใต้ หลาย ๆ คนคงต้องนึกถึงเรื่องเล่า และการทำบุญเดือนสิบ (ชิงเปรต) และที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือ การแสดงมโนราห์ แน่นอนว่าประเพณีที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นสิ่งที่อยู่กับคนไทยทางใต้อย่างเรามาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองมีความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องกันอย่างไร วันนี้ (21 กันยายน 2565) พวกเราได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมงาน “สืบสารท สานศิลป์ ถิ่นโนรา” ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พี่ ๆ น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา ได้รู้จักกับประเพณีและศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มากยิ่งขึ้น บรรยากาศภายในงานมีทั้งนิทรรศการและกิจกรรมเสวนา โดยกิจกรรมเสวนามีวิทยากร ประกอบด้วย 1) ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) และอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2) รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ 3) คุณเนติพงศ์ ไล่สาม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2564 4) ดร.รื่นฤทัย รอดสุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาศิลปกรรมและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมี  ผศ.ดร.เรวดี อึ้งโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและกิจการพิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมเสวนาและดำเนินรายการ  

 

 

 

        สารทเดือนสิบ ประเพณีแห่งความกตัญญูกตเวที หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าประเพณี “ชิงเปรต” เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ คำว่า สารท เอามาจากคำว่า สรท (สะระ-) คำแปลของภาษาอินเดีย แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูที่ผลไม้กำลังออกดอกออกผลไม่ว่า มังคุด ลางสาด ทุเรียนซึ่งจะออกผลตรงกับเดือนสิบ สารทเดือนสิบเกิดขึ้นพร้อมกับพุทธศาสนา คือการทำบุญนั่นเอง ที่เราต้องทำบุญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องในสมัยพุทธกาล ซึ่ง ผศ.ดร.สืบพงศ์  ได้เล่าว่า พระเจ้าพิมพิสาร ได้ตื่นบรรทมตอนรุ่งเช้าเพราะได้ยินเสียงร้องโหยหวนทุกคืน ท่านนอนไม่หลับ ก็เลยไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าเสียงที่มาร้องโหยหวนตอนใกล้รุ่งนั้นคือ เปรต เป็นพระญาติของพระองค์ คำว่า เปรต เป็นภาษาสันสกฤต ถ้าภาษาบาลี คือ เปตะ เมื่อท่านทราบแล้ว เลยถือคตินี้ ไปทำบุญให้เปรต จนในที่สุดบรรดาชาวพุทธก็ได้สืบทอดประเพณีการทำบุญแต่นั้นมา 

        ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา เชื่อว่าในปลายเดือนสิบนั้น ปูย่าตายายและญาติพี่น้องซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะ เปรต (คือ ผู้ที่ตายไปก่อน) หรือคนที่บาปมากจะตกนรกจะมีโอกาสได้ขึ้นมาเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงพยายามที่จะหาอาหารต่าง ๆ ไปทำบุญตามวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยจะแบ่งวันทำบุญเป็น 2 รอบ ในรอบแรกนั้น จะตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งบางท้องที่เรียกวันนี้ว่า วันหฺมรับเล็ก (รับเปรต) และครั้งที่สองเป็นวันกำหนดกลับนรก คือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกวันนี้ว่า วันหฺมรับใหญ่ (ส่งเปรต) จะมีการจัดทำพิธีทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเป็นการส่งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง

 

 

        ด้วยความเก่งและความฉลาดของบรรพชนไทย ทำให้โนราพัฒนาจนกระทั่งได้รับการรองรับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลก ท่าน ผศ.ธรรมนิตย์ ผู้ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติพุทธศักราช 2564 สาขาศิลปะการแสดงโนรา เปิดเผยว่า องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรอง ขึ้นทะเบียน ‘โนรา’ (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ วันนี้ท่านได้เป็นตัวแทนมาโชว์การรำโนราและเล่าเรื่องโนราและความสัมพันธ์กับสารทให้พวกเราฟังกัน ความว่า

       ความสัมพันธ์ระหว่างสารทกับโนราตายาย เวลามีการแสดงโนราโรงครู บนพาไล1 จะสังเกตเห็นว่ามีการทำหมฺรับเล็ก ๆ ไว้ 3 หมฺรับ ไว้สำหรับบูชาบรรพบุรุษ แสดงว่าโนรานั้นมีความสัมพันธ์กับตายาย และปลูกฝังว่าถ้าหากว่าต้องการจะระลึกถึงบรรพบุรุษก็จะต้องทำหมฺรับ โดยการแสดงเอกลักษณ์ คือจะมีโนราเข้าไปผสมอยู่ในขบวนแห่ด้วย นี่คือการสร้างจุดเข้มแข็งของประเพณีหมฺรับกับโนราที่สัมพันธ์กัน โดยประเพณีนี้ยังคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน อาจารย์ยังบอกอีกว่าเมื่อมีงานสารท ก็จะมีการแข่งขันโนราและการแสดงโนรา แสดงให้เห็นว่า คนภาคใต้ในปัจจุบัน มีการพัฒนาในการอนุรักษ์สืบทอดเห็นความสัมพันธ์ระหว่างโนรากับวันสารท

        ความสัมพันธ์ของวันสารทเดือนสิบยังเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์โนรา โดยคำว่า โนรา หรือ มโนราห์ ภาษาเดิมคือ มโนหราชาตรี ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะการแสดงของประเทศอินเดียโบราณ มีการแต่งบทกลอนบทร้องที่แสดงให้เห็นว่า โนรา คือภูมิปัญญาที่สามารถจะดึงเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้ามาสู่ศิลปะแล้วนำศิลปะเข้ามาสู่ประเพณี เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัยโดยมาจากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนในการแสดง การร่ายรำประเภทนี้เชื่อกันว่า เกิดขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะเริ่มคืบคลานแผ่ขยายไปยังหัวเมืองอื่น ๆ ของภาคใต้ การแสดงโนราที่ปรากฏในภาคใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะใช้เครื่องดนตรีประกอบการแสดงพิธีกรรมและความบันเทิง มีการประยุกต์และพัฒนาการนำดนตรีมาใช้ประกอบการแสดง ในแต่ละคณะโนราที่ทำการแสดง ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องบทเป็นกลอนสด และสรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย ทั้งหมดนี้แสดงถึงกลิ่นอายความเป็นชาวใต้ได้อย่างดีเยี่ยม   

      ในเรื่องของการเชื่อมโยงโนราสู่ปัจจุบันนั้น คุณเนติพงศ์ ผู้หลงใหลในลูกปัดโนรา หรือโนรา Hand craft  และได้รับรางวัลครูช่างศิลปะหัตถกรรมประจำปี 2565 ได้อธิบายขยายความเสริมจาก ผศ. ธรรมนิตย์ ว่า คำว่าปรับปรุง เป็นการปรับปรุงในเรื่องของลูกปัดโนรา เพราะฉะนั้นจึงต้องช่วยกันสนับสนุนส่งเสริม ยืนหยัด เพื่อที่จะทำให้โนราคงอยู่สืบไป  ความเป็น

 

 

1ผ้าเพดานใหญ่ในโรงพิธี ที่วางเทริด เสื่อหมอน เครื่องเชี่ยนพิธีโนราเป็นการเชื่อมโยงระหว่างคน จากรุ่นสู่รุ่น เสมือน                       เป็นการส่งสายใยที่ต้องดำเนินไปตลอด สำหรับคนรุ่นใหม่นั้นจะมีพื้นที่ต่าง ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์  พร้อมที่จะนำ                 เสนอและทำให้สามารถหารายได้ได้อย่างง่ายดายในปัจจุบันจากความผูกพันกับโนราทำให้รู้สึกว่า อยากที่จะสืบสาน             ในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การหยิบเอาหัตถกรรมลูกปัดโนรามาปรับให้มีรูปแบบสมัยใหม่ แต่ยังคงความเป็นตัวตนและ                 สนุกไปกับมัน

ดร. รื่นฤทัย ได้เสริมเกี่ยวกับการส่งต่อเรื่องเล่าที่ไม่มีตัวอั  กษร โดยการทำสื่อ E-book มาบอกเล่าให้พี่ ๆ น้อง ๆ ในงาน                    สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมเรื่องของตำนานโนรา ทั้งในเรื่องของประวัติศาสตร์ความเป็นมา หรือแม้กระทั่งเรื่องเล่า              ของครูต้นโนรา  เพราะเรื่องเล่าก็คือ การเล่ากันปากต่อปาก มีความคลาดเคลื่อนบ้างแม้กระทั่งผู้เล่าที่เปลี่ยนไปตาม              ยุคสมัย ทำให้เรื่องเล่าต่าง ๆ เกิดความหลากหลายหรือการส่งต่อที่ไม่แน่นอน เรื่องเล่าของโนรามีทั้ง “แม่เจ้าอยู่                    หัว” ได้บทสรุปว่าคือพระนางเลือดขาว มีเรื่องราวสรุปย่อใน  https://bit.ly/3YSEajJ  แต่เรื่องที่มีคนพูดถึงมาก ๆ ก็              คือ ทวดสำลีหรือ(ทวดยายหมลี) และ ขุนศรีศรัทธา ซึ่งเทียบเคียงถึงโนราได้ สามารถอ่านเนื้อหาต่อได้ที่                                  https://bit.ly/3XzLMXm

แชร์ 760 ผู้ชม

ประเพณี พิธีกรรม

องค์ความรู้